ในสภาพอากาศที่มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เฝ้าระวังโรค “โรคราดำ” โรคพืชสุดร้ายแรงของ “ลำไย” ให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยเฝ้าระวังกัน
สาเหตุของโรคราดำในลำไย
สาเหตุของโรคราดำในลำไยเกิดจากเชื้อรา Capnodium sp., Meliola sp. ที่มาพร้อมกับสภาพอากาศชื้น และระบาดหนักในพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก และสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะ ติดผล-เก็บผลผลิตของลำไย
อาการของโรคราดำในลำไย
1. พบคราบราสีดำติดตามส่วนของช่อดอกและช่อผลชของลำไย ทำให้ดอกออกมาผิดปกติ หรือเหี่ยว และหลุดร่วง
2. ถ้าเป็นโรคในระยะผลอ่อน อาจทำให้ผลลำไยเหี่ยวและหลุดร่วง
3. โรคราดำจะพบในช่วงที่มีการระบาดของแมลงปากดูด โดยเฉพาะเพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง
วิธีป้องกันโรคราดำ
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบลำไยที่แสดงอาการของโรคราดำให้นำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที
2. พ่นน้ำเปล่าล้างคราบราดำ เพื่อลดปริมาณเชื้อรา
3. ควรกำจัดแมลงปากดูดในสวนลำไย เนื่องจากเชื้อราเติบโตบนสารเหนียวที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้งขับถ่ายไว้