ค้นหา

Ged ไม่ใช่ GMOsทางแก้ใหม่ทุกปัญหาภาคการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เข้าชม 236 ครั้ง

เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม ( GEd)คือการแก้ไขรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่มีความจำเพาะและแม่นยำ หรือเพื่อแก้ไขให้ได้ยีนที่มีลักษณะตามต้องการ เป็นอีกความหวังเพื่อใช้แก้ปัญหาภาคการเกษตรและเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร

คงจะใหม่ไปสักหน่อยและหลายคนยังไม่รู้จัก เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd) ที่เป็นเทคนิคในการปรับเปลี่ยน และแก้ไขรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่มีความจำเพาะและแม่นยำ หรือเพื่อแก้ไขให้ได้ยีนที่มีลักษณะตามต้องการ ซึ่งองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ให้การยอมรับ

 ที่สำคัญเทคโนโลยีGEd ไม่มียีนถ่ายฝากจากสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่จัดว่าเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs  และมีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นทางออกของทุกปัญหาสินค้าเกษตร รวมถึงเป็นอีกวิธีการที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ

 ปัจจุบันมีหลายประเทศทั่วโลก ได้ลงทุนงานวิจัย และอนุมัติการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี GEd ได้แก่ แคนาดา อเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ชิลีญี่ปุ่น จีน อังกฤษ ฟิลิปปินส์ เคนยา รัสเซีย ออสเตรเลีย 

สำหรับประเทศไทย เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืช การเตรียมความพร้อมในการเป็นSeed hubโดยเมื่อเผยว่าวันที่ 11 ก.ค. 2567ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “การขอรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม เพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร พ.ศ. 2567”ซึ่งประกาศดังกล่าวจะเป็นการเดินหน้าสำหรับเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1137091