ค้นหา

‘กระทรวงเกษตรฯ’ ยกระดับเกษตรไทย สู่ความมั่นคงทางอาหารของโลก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,นสพ.กรุงเทพธุรกิจ
เข้าชม 115 ครั้ง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture & Food Hub) ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก

ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานการวิจัยการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในงาน แถลงข่าวประกาศความพร้อมสำหรับ Agri-Food Tech Expo Asia 2024 หรือ AFTEA 2024 ว่า อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตรเป็นส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาและขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศไทย โดยรัฐบาลมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture & Food Hub) เป็นผู้นำด้านการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ด้วยการเน้นใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างรายได้ สร้างโอกาส และยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้เกี่ยวข้องใน

ซึ่งภาคการเกษตรที่มีอยู่ 40 % ของประเทศ ให้มีรายได้มากขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี ซึ่งประเทศไทยเองมีความแข็งแกร่งทางด้านวัตถุดิบของการผลิต แต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ประเทศไทยจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มมูลค่า ตลอดจนพัฒนาอาหารและการเกษตรให้เดินหน้าเข้าสู่ยุคใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้มากขึ้น

โดยยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเกษตรและอาหารของโลก (Agriculture & Food Hub) ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต พัฒนาอาหารที่แปลกใหม่ ทั้งอาหาร Halal อาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารชนิดพิเศษอื่น ๆ

สนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการเปิดร้านอาหารในต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ไทยกลายเป็นปัจจัย 4 ของโลกในด้านอาหารโดยมีเป้าหมายให้ภาคการเกษตรไทยมีรายได้มากขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี ดูแลตั้งแต่ต้นน้ำในด้านการผลิตการจัดการการผลิต และการแปรรูปเพื่อการส่งออกตลอดห่วงโซ่ ด้วยนโยบายและมาตรการสำคัญ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” จาก 2 มาตรการ ได้แก่

1. มาตรการสร้างภูมิคุ้มกันและความยั่งยืน มุ่งเน้นเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เสริมความแข็งแกร่งให้กับเกษตรกร โดยจะมีการดำเนินการด้านต่างๆ อาทิ

       (1) ด้านปัจจัยการผลิต-พันธุ์-ดิน-ปุ๋ย-น้ำ การพัฒนาพันธุ์พีช-พันธุ์สัตว์ และ ส่งเสริมการนำเทคนิคการปรับแต่งหรือแก้ไขยีน (Gene editing: GEd) การปรับเปลี่ยนชนิดพืชให้เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ (Agri-Map) เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีศักยภาพและใหญ่ที่สุดในอาเซียน

       (2) ด้านเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกร การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในด้านเครื่องจักรกลและการทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming)

       (3) ด้านการสร้างอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ขยายโอกาสเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนให้กับเกษตรกรและคนในภาคการเกษตร ด้วยการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขายคาร์บอนเครดิตจากกิจกรรมการเกษตร

2. มาตรการยกระดับสินค้าเกษตรสู่การเพิ่มรายได้ ใน 3 กลุ่มสินค้าได้แก่

       กลุ่มที่ 1 สินค้าที่มีการผลิตมากกว่าความต้องการของตลาดภายในประเทศอย่าง ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ลำไย ปศุสัตว์และประมง

       กลุ่มที่ 2 สินค้าที่ตลาดมีความต้องการ อย่าง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและทุเรียน 

       กลุ่มที่ 3 สินค้าที่มีศักยภาพ อย่าง ถั่วเหลือง กาแฟ ชา โกโก้ และโคเนื้อ

นอกจากนี้ ในด้านการพัฒนาการวิจัยการเกษตร สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรหรือ สวก มีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปด้านการเกษตรส่งออก ยกระดับ คุณภาพชีวิตและเตรียมพร้อมการเข้าสูงเกษตรกรสูงวัย การยกระดับรายได้ด้วยการทำเกษตรแบบ Smart Farming พร้อมทั้งการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายของงานแสดงนวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรแห่งภูมิภาคเอเชีย หรือ AGRI-FOOD TECH EXPO 2024 ที่จะ จัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2567 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนดังเช่นสิงคโปร์มีการตื่นตัวในการร่วมพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมอาหารและการเกษตรไปด้วยกัน อันจะเป็นการส่งเสริมบรรยากาศแห่งการขับเคลื่อนให้ภูมิภาคอาเซียนเป็น

รวมถึงภูมิภาคแห่งนวัตกรรมการเกษตรและอาหาร ภายใต้สัปดาห์แห่งอาหารและการเกษตรสากลของ สิงคโปร์ ซึ่งได้รวมนักวิจัย นักค้นคว้าและพัฒนา นักธุรกิจ นักบริหาร และผู้ประกอบการ ที่พร้อมจะสร้างความร่วมมือระหว่างกันได้ และที่สำคัญคือการเป็นแหล่งรวมเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอาหารใหม่ๆและทันสมัยจะสามารถสร้างโอกาสการพัฒนาอาหารแห่งอนาคตสำหรับการผลิตอาหาร ยุคใหม่ที่ใช้ผู้ผลิตและทรัพยากรจำนวนน้อยเพื่อเลี้ยงประชากรจำนวนมากได้ในอนาคต

แชร์ :
ที่มาของเนื้อหา : https://www.bangkokbiznews.com/environment/1138806